สึบเนื่องจากฉบับที่แล้วซึ่งได้กล่าวถึงหน่วยความเข้มข้นของมลพิษอากาศและ กล่าวถึงภาพรวมการเก็บตัวอย่างอากาศของสถานประกอบกิจการ/ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มักพบได้โดยทั่วไป คือ การเก็บตัวอย่างอากาศเพื่อเปรียบเทียบกับกฎมายหรือค่ามาตรฐานอยู่ 3 แหล่งใหญ่ๆ ได้แก่
1. การเก็บตัวอย่างอากาศในบริเวณสถานที่ทำงาน (workplace air sampling)
2. การเก็บตัวอย่างอากาศจากปล่องหรือช่องเปิดที่ระบายอากาศออกจากสถานประกอบกิจการ/ โรงงานอุตสาหกรรม (stack air sampling)
3. การเก็บตัวอย่างอากาศจากบรรยากาศรอบๆ สถานประกอบกิจการ/ โรงงานอุตสาหกรรม หรือจากบรรยากาศบริเวณชุมชนติดกับสถานประกอบการ/ โรงงานอุตสาหกรรม (ambient air sampling)
โดยการเก็บตัวอย่างอากาศในต่ละแหล่ง มีวัตถุประสงค์ของการเก็บตัวอย่างอากาศที่แตกต่างกันออกไป และมีมาตรฐานวิธีการเก็บตัวอย่าง การใช้อุปกรณ์/เครื่องมือในการเก็บตัวอย่าง รวมถึงมีกฏหมายหรือมาตรฐานที่ใช้ในการเปรียบเทียบแตกต่างกันออกไปด้วย
ฉบับนี้จะได้กล่าวถึงรายละเอียดพอสังเขปของการเก็บตัวอย่างอากาศในแต่ละแหล่ง เพื่อเป็นแนวทางและความเข้าใจเบื้องต้นสำหรับผู้สนใจในการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมต่อไป
การเก็บตัวอย่างอากาศในบริเวณสถานที่ทำงาน
(workplace air sampling)
(workplace air sampling)
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์หลักของการเก็บตัวอย่างอากาศในบริเวณสถานที่ทำงาน คือ เพื่อประเมินการสัมผัสมลพิษอากาศของผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและเฝ้าระวัง ป้องกันปัญหาสุขภาพอนามัยที่อาจเกิดขึ้นกับตัวผู้ปฏิบัติงาน
วัตถุประสงค์หลักของการเก็บตัวอย่างอากาศในบริเวณสถานที่ทำงาน คือ เพื่อประเมินการสัมผัสมลพิษอากาศของผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและเฝ้าระวัง ป้องกันปัญหาสุขภาพอนามัยที่อาจเกิดขึ้นกับตัวผู้ปฏิบัติงาน
ดังนั้น หากเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจะคุ้นเคยกับการเก็บตัวอย่างประเภทนี้
กฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง
ในปัจจุบัน (มี.ค.2554) กฏหมายประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการเก็บตัวอย่างอากาศในบริเวณสถานที่ทำงานโดยตรงมีอยู่ 2 ฉบับ คือ
ในปัจจุบัน (มี.ค.2554) กฏหมายประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการเก็บตัวอย่างอากาศในบริเวณสถานที่ทำงานโดยตรงมีอยู่ 2 ฉบับ คือ
1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) ลงวันที่ 30 พ.ค.2520
2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ลงวันที่ 22 ส.ค.2534
จะเห็นได้ว่า กฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ยังเป็นกฎหมายเก่าที่อาศัยอำนาจจากกฏหมายแม่บทด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยฉบับเก่า คือ ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ในการออกกฎหมาย (ปัจจุบันกฏหมายแม่บทด้านอาชีวอนมัยและความปลอดภัยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากแล้ว โดยได้เปลี่ยนจากประกาศคณะปฎิวัติฉบับดังกล่าวเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ประมาณกลางเดือนกรกฎาคม 2554 ที่จะถึงนี้ นอกจากนี้ มีข้อน่าสังเกตว่ากฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว มีชื่อเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่า กฎหมายดังกล่าวออกสมัยที่ยังไม่มีการจัดตั้งกระทรวงแรงงานขึ้น มีเพียงกรมแรงงานภายใต้สังกัดกระทรวงมหาดไทย ดังนั้น ในปัจจุบันกฎหมายดังกล่าวอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงแรงงาน)
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ได้มีการยกร่างกฎกระทรวงเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ทั้งนี้เนื้อหาโดยรวมจะนำกฎหมายทั้ง 2 ฉบับรวมเข้าด้วยกัน รวมทั้งปรับปรุงให้ทันสมัยมากขึ้น จึงขอแนะนำให้ติดตามความก้าวหน้าในการประกาศใช้กฎกระทรวงดังกล่าวจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทางเว็บไซต์ http://www.labour.go.th และ/ หรือจากสำนักความปลอดภัยแรงงานทางเว็บไซต์ http://www.oshthai.org
รายละเอียดพอสังเขปของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี)
รายละเอียดพอสังเขปของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี)
ในประกาศฯ ฉบับนี้ มีการกำหนดแบ่งเป็น 3 หมวด คือ หมวด 1 สารเคมี หมวด 2 มาตรฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และหมวด 3 เบ็ดเตล็ด ซึ่งข้อกำหนดทั้งหมดถือเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่ต้องปฏิบัติเท่านั้น สรุปสาระสำคัญของประกาศฯ ฉบับนี้ คือ
1. การกำหนดค่ามาตรฐานสารเคมีในบรรยากาศของสถานที่ทำงานหรือในการทำงาน โดยในประกาศฉบับนี้ กำหนดค่ามาตรฐานสารเคมีในบรรยากาศของการทำงานโดยสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ทำงานในที่ที่สารเคมีฟุ้งกระจายและจัดแบ่งออกเป็น 4 ตาราง คือ
ตารางหมายเลข 1 จะกำหนดว่า ตลอดระยะเวลาทำงานปกติ (คือ 8 ชั่วโมงต่อวัน) ปริมาณสารเคมีที่ฟุ้งกระจายในบรรยากาศของการทำงานโดยเฉลี่ย จะเกินกว่าที่กำหนดไว้ในตารางดังกล่าวไม่ได้ ซึ่งในตารางกำหนดสารเคมีให้ทั้งสิ้น 72 ชนิด ตัวอย่างเช่น สารอัลดริน สามารถฟุ้งกระจายในบรรยากาศที่ทำงานเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมงได้ไม่เกิน 0.25 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
สำหรับตารางหมายเลข 2 เป็นค่ามาตรฐานเคมีในการบรรยากาศของการทำงานที่ไม่ว่าเวลาใดของการทำงานปกติ ห้ามมีค่าเกินเท่าที่กำหนดไว้โดยตารางกำหนดสารเคมีไว้ทั้งสิ้น 24 ชนิด ตัวอย่างเช่น บิวทิลอะไมด์ ในที่ทำงานไม่ว่าเวลาใดๆ สามารถฟุ้งกระจายได้ไม่เกิน 5 ล้านในล้านส่วนหรือ 15 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นต้น
สำหรับตารางหมายเลข 3 นั้น จะกำหนดค่ามาตรฐานสารเคมีเป็นค่าความเข้มข้นเฉลี่ยตลอดระยะเวลาทำงานปกติ และค่าความเข้มข้นในระยะเวลาที่กำหนดให้ทำงานได้ซึ่งในตารางกำหนดสารเคมีไว้ทั้งสิ้น 21 ชนิด
ส่วนตารางหมายเลข 4 กำหนดค่า ปริมาณสารเคมีเป็นค่าเฉลี่ยตลอดระยะเวลาทำงานปกติเช่นเดียวกัน ตารางที่ 1 เพียงแต่สารเคมีในตารางที่ 4 นี้ จะอยู่ในรูปฝุ่นแร่ ซึ่งในตารางกำหนดสารเคมีในรูปฝุ่นแร่ไว้ 4 ชนิด ตัวอย่างเช่น ฝุ่นที่ก่อให้เกิดความรำคาญชนิดฝุ่นทุกขนาด (Total Dust) สามารถฟุ้งกระจายในบรรยากาศที่ทำงานเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานปกติ (8 ชม.) ได้ไม่เกิน 15 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ฝุ่นที่ก่อให้เกิดความรำคาญชนิดฝุ่นขนาดที่สามารถเข้าถึงและสะสมในถุงลมของปอดได้ (Respirable Dust) สามารถฟุ้งกระจายในบรรยากาศที่ทำงานเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานปกติ (8 ชม.) ได้ไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นต้น
2. กำหนดให้มีการดำเนินงานเพื่อความปลอดภัยและการปรับปรุงแก้ไข ถ้าสภาพการใช้สารเคมีอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้หรือผู้อยู่ใกล้เคียง (เช่น ลูกจ้างแผนกอื่น แต่มีพื้นที่ทำงานติดกัน เป็นต้น) นายจ้างต้องจัดห้องหรืออาคารสำหรับการใช้สารเคมีไว้โดยเฉพาะ และกรณีผลการตรวจวัดปริมาณสารเคมี พบว่า มีสารเคมีฟุ้งกระจายสู่บรรยากาศของการทำงานเกินกว่าที่กำหนดไว้ในตารางหมายเลข 1-4 กฎหมายได้กำหนดขั้นตอนของการปรับปรุงหรือแก้ไข โดยขั้นตอนแรกนายจ้างต้องหาทางลดความเข้มข้นของสารเคมีลงมาไม่ให้เกินกว่าที่กำหนด (แสดงว่า ต้องหาทางลดที่แหล่งกำเนิดสารเคมีหรือบริเวณทางผ่านของสารเคมี) หากไม่สามารถทำได้ จึงจะมาถึงขั้นตอนจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล คือ ฝุ่น ละออง ฟูม แก๊สหรือไอเคมี ต้องสวมใส่ที่กรองอากาศหรือเครื่องช่วยหายใจที่เหมาะสมสารเคมีในรูปของของเหลวที่เป็นพิษ ต้องสวมใส่ถุงมือยาง รองเท้าพื้นยางหุ้มแข็ง กะบังหน้าชนิดใส และที่กันสารเคมีกระเด็นถูกร่างกาย สารเคมีในรูปของแข็งที่เป็นพิษ ต้องสวมใส่ถุงมือยางและรองเท้าพื้นยางหุ้มส้น ทั้งนี้กฎหมายได้กำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลไว้ด้วย เช่น ถุงมือยางต้องทำด้วยยางหรือวัตถุอื่นที่คล้ายกัน มีความยาวหุ้มถึงข้อมือ มีลักษณะใช้สวมกับนิ้วมือได้ทุกนิ้ว มีความเหนียวไม่ฉีกขาดง่าย สามารถกันน้ำและสารเคมีได้ ที่กรองอากาศสำหรับใช้ครอบจมูกและปากกันฝุ่นแร่ ต้องสามารลดปริมาณฝุ่นแร่ไม่ให้เกินกว่าที่กำหนดกฎหมาย เป็นต้น
รายละเอียดพอสังเขปประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
รายละเอียดพอสังเขปประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
ประกาศกระทรวงฯ ฉบับนี้ได้มีการระบุชนิดและประเภทของสารเคมีอันตรายให้ชัดเจน โดยออกกฎหมายลำดับรอง คือ ประกาศสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องกำหนดชนิดและประเภทของสารเคมีประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ซึ่งระบุชนิดและประเภทของสารเคมีอันตรายไว้ 2 ตาราง ตารางหมายเลข 1 คือ ชนิดและประเภทของสารเคมีที่เป็นสารเคมีอันตรายมีทั้งสิ้น 1,579 สาร และตารางหมายเลข 2 คือ ชนิดและประเภทของสารเคมี ซึ่งมีปริมาณตั้งแต่ที่กำหนดขึ้นไปเป็นสารเคมีอันตรายมีทั้งสิ้น 180 สาร
สาระหรือข้อกำหนดในประกาศกระทรวงฯ ฉบับนี้ ได้แบ่งออกเป็น 3 หมวดคือ หมวด 1 การทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย หมวด2 การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และหมวด 3 เบ็ดเตล็ด สรุปสาระที่สำคัญของประกาศฉบับนี้ เช่น
1. กำหนดเรื่อง การขนส่ง เก็บรักษา เคลื่อนย้าย และกำจัดหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตราย ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
2. กำหนดให้มีฉลากปิดไว้ที่หีบห่อภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมี โดยฉลากต้องมีรายละเอียดดังนี้ สัญลักษณ์ที่แสดงถึงอันตรายและคำว่า “สารเคมีอันตราย”หรือ “วัตถุมีพิษ” หรือชื่อทางเคมีหรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสารเคมีอันตราย ปริมาณและส่วนประกอบของสารเคมีอันตราย อันตรายและอาการเกิดพิษจากสารเคมีอันตราย คำเตือนเกี่ยวกับวิธีเก็บ วิธีใช้ วิธีเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตรายและวิธีกำหนดหีบห่อภาชนะบรรจุหรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายอย่างปลอดภัย วิธีปฐมพยาบาลเมื่อมีอากาศหรือความเจ็บป่วยเนื่องจากสารเคมีอันตราย และคำแนะนำให้รับส่งผู้ป่วยไปหาแพทย์
3. กำหนดให้แจ้งข้อมูลเคมีภัณฑ์ตามแบบ สอ.1 ต่อราชการภายใน 7 วัน (แบบ สอ.1 คือ Material Safety Data Sheet ; MSDS) และกรณีมีการใช้สารเคมีอันตรายเกินกว่าที่กำหนดต้องทำการประเมินการก่ออันตรายตามแบบ สอ.2 อย่างน้อยปีละครั้ง รวมทั้งกำหนดให้สถานที่ทำงานของลูกจ้างต้องมีปริมาณสารเคมีอันตรายในบรรยากาศการทำงานไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายความปลอดภัยเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) โดยต้องทำการวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายในบรรยากาศที่ทำงานและสถานที่เก็บอย่างช้าที่สุดต้องไม่เกิน 6 เดือนต่อครั้ง และรายงานผลตามแบบ สอ. 3 ถ้าผลการตรวจวัดพบว่าเกินค่ามาตรฐาน ต้องดูแลหรือปรับปรุงแก้ไขไม่ให้เกิน
4. กำหนดให้สถานที่ทำงานของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายต้องถูกสุขลักษณะสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยมีการระบายอากาศที่เหมาะสม รวมทั้งมีระบบป้องกันและกำจัดสารเคมีอันตราย และต้องจัดที่ชำระล้างสารเคมีอันตรายด้วย
5. กำหนดให้มีการอบรมลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
5. กำหนดให้มีการอบรมลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
6. กำหนดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงานกับสารเคมีอันตราย โดยให้รายงานผลการตรวจตามแบบ สอ. 4 และเก็บผลการตรวจสุขภาพเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี และพร้อมให้เจ้าหน้าที่ตรวจได้ หากพบความผิดปกติต้องจัดการให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันที
7. กำหนดให้นายจ้างต้องจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น ถุงมือ รองเท้าหุ้มแข็ง กะบังหน้า เป็นต้น ที่ทำจากวัสดุที่มีคุณสมบัติสามารถป้องกันอันตรายได้ และถ้าลูกจ้างไม่ใช้หรือไม่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ให้นายจ้างสั่งหยุดการทำงานจนกว่าจะได้ใช้หรือสวมใส่
8. กำหนดมาตรการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น สารเคมีอันตรายรั่วไหล ฟุ้งกระจาย เกิดอัคคีภัย/ระเบิด อันอาจทำให้ลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วยหรือตายอย่างเฉียบพลัน ต้องให้ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานบริเวณนั้นหรือบริเวณใกล้เคียงหยุดงานทันที และออกไปให้พ้นรัศมีที่อาจได้รับอันตราย
สรุปประเด็นจากกฎหมาย 2ฉบับดังที่กล่าวข้างต้นที่เกี่ยวข้องกับการเก็บตัวอย่างอากาศในบริเวณสถานที่ทำงาน ดังนี้
สรุปประเด็นจากกฎหมาย 2ฉบับดังที่กล่าวข้างต้นที่เกี่ยวข้องกับการเก็บตัวอย่างอากาศในบริเวณสถานที่ทำงาน ดังนี้
ประเทศไทยได้มีการกำหนดให้สถานประกอบการ/ โรงงานอุตสาหกรรมทีมีการใช้สารเคมีตามที่กำหนดต้องทำการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายในบรรยากาศที่ทำงานและสถานที่เก็บหรือกล่าวได้ว่าต้องมีการเก็บตัวอย่างอากาศในบริเวณสถานที่ทำงานที่มีการใช้สารเคมีตามที่กำหนดรวมทั้งมีการกำหนดค่ามาตรฐานสารเคมีในบรรยากาศของการทำงานไว้ด้วย
นอกจากนี้ ในแบบรายงานผลการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายในบรรยากาศบริเวณสถานที่ทำงานและสถานที่เก็บสารเคมีอันตรายหรือแบบสอ.3 ได้กำหนด เรื่องวิธีการเก็บตัวอย่าง การวิเคราะห์ให้ใช้มาตรฐานของ NIOSH JISHA หรือมาตรฐานสากลอื่นๆ และผู้เก็บตัวอย่างควรมีความรู้ทางด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial Hygiene) ด้วย (อ่านเพิ่มเติม)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น